5. Modules Material Management : MM

ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MM – Management )

ระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP – Material Requirement Planning) เป็นกุญแจสำคัญของการวางแผนโรงงาน ซึ่งจะใช้ตารางการผลิตหลักของโรงงานและแหล่งที่มาของอุปสงค์และอุปทานอื่นๆ เพื่อคำนวณหา
o ความต้องการสุทธิและวัตถุดิบคงคลังในมือที่ได้วางแผนไว้
o ตารางและแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ
o ข้อควรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการวางแผนวัตถุดิบ เช่นการสั่งให้ซื้อเพิ่มหรือยกเลิกการซื้อวัตถุดิบในบางรายการ
MRP จะคำนวณถึงสมดุลของอุปทานและอุปสงค์ของรายการที่ต้องซื้อและรายการที่ต้องการผลิต โดยจะบอกถึงจำนวนอุปสงค์หรือความต้องการ และคำนวณระยะเวลาที่ต้องทำการสั่งซื้อเพิ่มเติมให้เต็มความต้องการ
โดย MRP จะมองที่ความต้องการผลิตภัณฑ์ของผู้ซื้อ (Finished Items demand) และใช้โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ (Product Structure) เพื่อคำนวณหาความต้องการของรายการส่วนประกอบ (Component Items) โดยแต่ละรายการส่วนประกอบนั้น จะพิจารณาถึงรายละเอียดรายของการสั่งซื้อ (Order Information) จำนวนของวัตถุดิบคงคลังในมือ (Inventory On Hand) ระยะเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time) โดยจะสร้างแผนการสั่งซื้อ/ผลิต (Planned Ordered) และคำแนะนำต่างๆ เป็นเสมือนผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

แหล่งที่มาของความต้องการ (Source of Demand) มีดังต่อไปนี้
o ใบสั่งขายสินค้า (Sales Orders)
o ตารางการส่งของจากลูกค้า (Customer Schedule Order)
o การประมาณการยอดขายหรือการผลิต (Sales Forecast or Production Forecast)
o ปริมาณขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) หรือความต้องการพิเศษจากโรงงาน (Special Requirement from Manufacturing)

แหล่งที่มาของสิ่งที่มีอยู่ (Source of Supply) มีดังต่อไปนี้
o จำนวนของวัตถุดิบคงคลังในมือ (QOH – Quantity on hand)
o ใบสั่งซื้อวัตถุดิบ (Material Purchase Order)
o ใบสั่งผลิตในโรงงาน (Work Order or Manufacturing Order)
o ตารางการส่งวัตถุดิบจากผู้ขาย (Supplier schedule order)

ที่มา : http://course.eau.ac.th

การจัดการวัสดุ การจัดการวัสดุทำเพื่อให้มีวัสดุและสินค้ารองรับงานผลิตและการตลาด ทั้งการบริการลูกค้าที่ดีและมีต้นทุนสินค้าคงคลังรวมที่อยู่ระดับต่ำสามารถทำได้หลายวิธีการขึ้นอยู่กับลักษณะของความต้องการสินค้า ทรัพยากรองค์การความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องการจัดการซัพพลายเชน ตลอดจนลักษณะของกระบวนการผลิตสินค้าประกอบเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและคอมพิวเตอร์ยังช่วยให้การสร้างระบบการจัดการสินค้าคงคลังมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารสามารถเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับกิจการของตนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในธุรกิจอุตสาหกรรม มีดังต่อไปนี้
1.Economic Order Quantity หรือ EOQ
2.Material requirements planning หรือ MRP
3.Just-in-Time Production Systems หรือ JIT
#ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด เป็นระบบสินค้าคงคลังที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน โดยทีระบบนี้ใช้กับสินค้าคงคลังที่มีลักษณะของความต้องการที่เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับควมต้องการของสินค้าคงคลังตัวอื่น จึงต้องวางแผนพิจารณาความต้องการอย่างเป็นเอกเทศด้วยวิธีการพยากรณ์อุปสงค์ของลูกค้าโดยตรง
ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดจะพิจารณาต้นทุนรวมของสินค้าคงคลังที่ต่ำสุดเป็นหลักเพื่อกำหนดระดับปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่เรียกว่า “ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด”
การใช้ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดมีทั้ง 4 สภาวการณ์ดังต่อไปนี้
#ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ โดยมีสมมติฐานที่กำหนดเป็นขอบเขตไว้ว่า
1) ทราบปริมาณอุปสงค์อย่างชัดเจน และอุปสงค์คงที่
2) ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อพร้อมกันทั้งหมด
3) รอบเวลาในการสั่งซื้อ ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนได้รับสินค้าคงที่
4) ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าและต้นทุนการสั่งซื้อคงที่
5) ราคาสินค้าที่สั่งซื้อคงที่
6) ไม่มีสภาวะของขาดมือเลย

ที่มา  http://www.bestwitted.com/?tag=mrp

ตัวอย่างระบบสินค้าคงคลัง

เป็นระบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้า ทั้งสินค้ายกมาและรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น การเบิก,การรับคืนจากการเบิก , การโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง,การรับสินค้าผลิตเสร็จและการส่งคืนสินค้า สามารถกำหนดให้โปรแกรมปรับปรุงยอดสินค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการตรวจนับ สินค้าคงเหลือหรือหากต้องการปรับปรุงเพิ่มลดสินค้าเองก็สามารถทำได้ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นหลังจากที่มีการรับรู้สินค้าผลิตเสร็จแล้วสามารถนำ ค่าใช้จ่ายมาบันทึกเพิ่มต้นทุนเพื่อให้โปรแกรมคำนวณเป็นต้นทุนของสินค้าได้ ทั้งนี้ยังสามารถดูรายงานความเคลื่อนไหวสินค้ายอดสินค้าคงเหลือและต้นทุนของ สินค้าคงเหลือตามลักษณะการคิดต้นทุนที่บริษัทกำหนดได้แบบ Real Time ได้

การเบิก

ระบบบัญชีที่รองรับการบันทึกรายการเบิกสินค้า วัตถุดิบ อะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองเป็นต้น เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การเบิกเพื่อใช้ , เบิกเพื่อผลิต, เบิกเพื่อตัดชำรุด เป็นต้น

Benefit :
  • สามารถบันทึกรายการเบิกรายการกลุ่มสินค้าหลายประเภทพร้อมกัน
  • เมื่อบันทึกรายการใบเบิกแล้วสินค้าและวัตถุดิบจะลดยอด Stock ให้ทันที
  • สามารถเพิ่มคุณสมบัติสินค้า,แก้ไขชื่อสินค้า หรือ หมายเหตุอื่นๆ ที่การบันทึก ใบเบิกได้
  • รองรับสินค้าที่มีบาร์โค้ด (Barcode) ในการบันทึกเบิกสินค้าและวัตถุดิบ
  • สามารถ Copy ข้อมูลจากการบันทึกใบเบิกเดิมได้ เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน
  • มีระบบแจ้งเตือนสินค้าติดลบ และสามารถตรวจสอบสินค้าติดลบได้
  • มีสถานะเอกสาร(Full, Partially) แสดงในกรณีอ้างอิงใบเบิกไปบันทึกรับคืนจากการเบิก
  • สามารถเพิ่มเติมรายการเอกสารในการเบิกเองได้
  • สามารถพิมพ์แบบฟอร์มใบเบิกสินค้าและวัตถุดิบจากระบบได้
  • สามารถเรียกดูรายงานเกี่ยวกับใบเบิกได้ เช่น รายงานใบเบิก,รายงานต้นทุนเบิก เป็นต้น
  • สามารถ Drill Down รายงานใบเบิกเพื่อตรวจสอบดูรายละเอียดการบันทึกใบเบิกได้

รายงานที่ได้รับจากการบันทึก :

  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
  • รายงานยอดสินค้า
  • รายงานใบเบิก

การรับสินค้าผลิตเสร็จ

ระบบบัญชีที่รองรับการบันทึกรายการรับสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตสำเร็จเข้าคลังสินค้า เพื่อใช้สำหรับบันทึกรายการรับสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตสำเร็จแล้วเข้าคลังสินค้า  เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

Benefit :

  • สามารถอ้างอิงรายการแผนรับสินค้ามาบันทึกรับสินค้าผลิตเสร็จ
  • เมื่อบันทึกรายการรับผลิตเสร็จแล้ว สินค้าจะเพิ่มยอด Stock ให้ทันที
  • สามารถเพิ่มคุณสมบัติสินค้า,แก้ไขชื่อสินค้าหรือหมายเหตุอื่นๆที่การบันทึกรับสินค้าได้
  • รองรับสินค้าที่มีบาร์โค้ด (Barcode ) ในการบันทึกรับสินค้าผลิตเสร็จ
  • มีสถานะเอกสาร (Full) แสดงในกรณีอ้างอิงรับสินค้าผลิตเสร็จไปบันทึกเพิ่มต้นทุน
  • สามารถ Copy ข้อมูลจากการบันทึกรับสินค้าผลิตเสร็จเดิมได้ เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน
  • สามารถบันทึกรหัสและชื่อโครงการ (Job) ได้หลายๆโครงการในเอกสารเดียวกันได้
  • สามารถ Drill Down รายงานส่งคืนสินค้าผลิตเสร็จเพื่อตรวจสอบดูรายละเอียดการบันทึกได้
  • สามารถเรียกดูรายงานรับสินค้าผลิตเสร็จตามโครงการ (Job),แผนก

รายงานที่ได้รับจากการบันทึก :

  • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
  • รายงานยอดสินค้า
  • รายงานรับสินค้าผลิตเสร็จ

โอนย้ายสินค้าออกคลัง

ระบบบัญชีที่รองการบันทึกรายการโอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง ด้านการโอนสินค้าออกจากคลัง  จะมีผลทำให้คลังที่โอนออก จำนวนสินค้าลดลงเป็นการโอนย้ายสินค้าระหว่างกันภายในกิจการ

Benefit :

  • สามารถบันทึกโอนย้ายสินค้าออกคลัง หลายๆคลังพร้อมกันได้
  • เมื่อบันทึกรายการโอนย้ายออกคลังแล้ว สินค้าและวัตถุดิบจะลดยอด Stock ให้ทันที
  • สามารถเพิ่มคุณสมบัติสินค้า, แก้ไขชื่อสินค้า ที่การบันทึกโอนย้ายสินค้าออกได้
  • รองรับสินค้าที่มีบาร์โค้ด (Barcode )
  • มีสถานะเอกสาร( Full, Partially , Not Transfer ) แสดงในกรณีอ้างอิงใบโอนย้ายสินค้าออกคลังไป บันทึกโอนย้ายสินค้าเข้าคลัง
  • มีระบบแจ้งเตือนสินค้าติดลบ และสามารถตรวจสอบสินค้าติดลบได้
  • สามารถบันทึกรหัสและชื่อโครงการ (Job) ได้หลาย ๆ โครงการในเอกสารเดียวกัน
  • รองรับแบบฟอร์มการโอนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ ออกคลัง
  • สามารถเรียกดูรายงานโอนย้ายสินค้าออกคลัง ตามโครงการ (Job) , แผนก
  • สามารถ Drill Down รายงานโอนย้ายสินค้าออกคลัง เพื่อตรวจสอบดูรายละเอียดการบันทึกได้
  • รายงานที่ได้รับจากการบันทึก :
    • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
    • รายงานยอดสินค้า
    • รายงานโอนย้ายข้อมูล (ออก – เข้า)
    • รายงานโอนย้ายสินค้า (ออก)

การตรวจนับสินค้า

ระบบบัญชีที่รองการบันทึกผลของการตรวจนับสินค้าเป็นการตรวจนับสินค้าตามที่ ได้รับเอกสารให้เข้าไปตรวจนับสินค้าในคลังสินค้าและที่เก็บเพื่อให้ ทราบยอดสินค้า ที่อยู่ในคลังสินค้าที่มีอยู่จริง ณ วันที่เข้าไปตรวจนับ

Benefit :

  • การบันทึกตรวจนับสินค้าสามารถบันทึกจากเอกสารตรวจสอบการนับสินค้า
  • เป็นการบันทึกจำนวนสินค้าที่ทำการตรวจนับจริง ซึ่งจะไม่แสดงยอดคงเหลือตามบัญชี
  • รองรับแบบฟอร์มการตรวจนับสินค้าและวัตถุดิบ
  • หลังจากที่บันทึกจะมีแสดงผลต่างการตรวจนับ ระหว่างยอดสินค้าคงเหลือและ ยอดสินค้าคงเหลือตามบัญชีที่รายงานผลการตรวจนับ และที่หน้าจอการตรวจสอบการนับสินค้าทันที
  • สามารถกำหนดและสั่งพิมพ์แบบฟอร์มการตรวจนับได้หลายๆรูปแบบในหน้าจอเดียวกัน
  • สำหรับผู้ตรวจนับตรวจนับทุกรายการสินค้าแล้ว สามารถคลิกตรวจนับทั้งไป โปรแกรมจะแสดงในช่องที่ตรวจนับให้อัตโนมัติทุกรายการ

รายงานที่ได้รับจากการบันทึก :

  • รายงานตรวจนับสินค้า
  • รายงานตรวจนับสินค้า (แบบไม่แสดงจำนวน)
  • รายงานผลการตรวจนับสินค้า

ที่มา http://www.prosoftmyaccount.com/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=349&ArticleID=898

ใส่ความเห็น